ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus Skeels
ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACE
ชื่อสามัญ : Star Gooseberry
ชื่อท้องถิ่น : มะยม
ผลมะยม |
ลักษณะทั่วไป
มะยมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 5 - 10 เมตร ลำต้นตรงและแตกกิ่งก้านสาขาบริเวณปลายยอด กิ่งก้านจะเปราะและแตกง่าย ผิวเปลือกของลำต้นขรุขระสีเทาปนน้ำตาล ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงแบบสลับเป็น 2 แถว แต่ละก้านมีใบย่อย 20 - 30 คู่ ใบรูปขอบขนานกลม หรือค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ปลายใบแหลม
ประโยชน์
สำหรับการใช้ประโยชน์ทางยา แพทย์แผนโบราณมักนิยมใช้รากของมะยมตัวผู้ (มะยมที่ออกดอกเต็มต้นและร่วงหล่นไปไม่ติดลูก) ในการปรุงยากล่าวกันว่ามีคุณภาพดีกว่ามะยมตัวเมีย
ราก สรรพคุณ แก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยขับน้ำเหลืองให้แห้ง ประดง ดับพิษเสมหะ โลหิต
* ราก รสจืด สรรพคุณแก้โรคผิวหนัง แก้ผดผื่นคัน ช่วยซับน้ำเหลืองให้แห้ง แก้ประดง ดับพิษเสมหะ
* เปลือกต้น รสจืด สรรพคุณแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ และแก้เม็ดผดผื่นคัน
* ใบ รสจืดมัน ปรุงเป็นส่วนประของยาเขียว สรรพคุณแก้ไข้ ดับพิษไข้ บำรุงประสาท ต้มร่วมกับใบหมากผู้หมากเมียและใบมะเฟืองอาบแก้คัน ไข้หัด เหือด และสุกใส
* ดอก ดอกสดใช้ต้มกรองเอาน้ำแก้โรคในตา ชำระล้างในตา
* ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต
แหล่งข้อมูล
จัดทำโดย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น