ต้นพญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alstonia scholaris
ชื่อตระกูล : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : ตีนเป็ด,บะชา,ปูเล,หัสบัน
ลักษณะทั่วไป
ไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15 - 35 เมตร โคนต้นมักเป็นพูพอน
เปลือก สีเทาอ่อนหรือเทาอมเหลือง ค่อนข้างหนาใบ ใบเดี่ยวเรียงกันเป็นวง 4 - 7 ใบ แผ่นใบรูปมนแกมรูปไข่กลับ ปลายแหลมเป็นติ่งเล็กน้อยโคนสอบ เข้าหากันเป็นรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ
ดอก ดอกเล็ก สีเขียวอมเหลือง หรืออมขาวออกเป็นกลุ่มในช่อซึ่งแยกกิ่งก้าน ออกจากจุดเดียวกันตามปลายกิ่ง
ผล เป็นฝักเรียว ยาว 10 - 20 เซ็นติเมตร เมล็ดแบบทรงบรรทัดแคบ ๆ ยาว ประมาณ 7มิลลิเมตร มีขนยาวอ่อนนุ่มปุกปุยติดอยู่เป็นกระจุกที่ปลายทั้งสองข้าง
นิเวศวิทยา ขึ้นกระจายอยู่ห่าง ๆ ในป่าดงดิบชื้นทางภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ และริมลำห้วยในป่าเบญจพรรณทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ออกดอก ตุลาคม - ธันวาคม เริ่มติดฝักประมาณเดือนมกราคม เมล็ดแก่ประมาณเดือน มีนาคม
ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด
ประโยชน์ เนื้อไม้สีขาวอมเหลืองอ่อน เนื้อไม้หยาบ อ่อนแต่เหนียว ตบแต่งง่าย ใช้ทำหีบใส่ของ ลูกทุ่นอวน รองเท้าไม้ ของเล่นสำหรับเด็ก ไม้จิ้มฟัน เปลือกใช้รักษาโรคบิด แก้หวัด หลอดลมอักเสบ เป็นยาสมานลำไส้ ใบใช้พอกดับพิษต่าง ๆ ยางทำยารักษาแผลเน่าเปื่อย
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล:
http://www.dnp.go.th/EPAC/province_plant/samudkhon.htm
http://www.oknation.net/blog/imakeperfume/2011/11/16/entry-2
จัดทำโดย: ด.ญ.อรธิรดา หนูรักษา ชั้น G.5/1 เลขที่ 21 โรงเรียนปาณยา พัฒนาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น