วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

กล้วยไม้ (orchid) 蝴蝶兰





ชื่อวิทยาศาสตร์: Orchid

ชื่อสามัญ: Orchid

ชื่อวงศ์: ORCHIDACEAE

ชื่อท้องถิ่น:  เอื้อง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Orchid

ชื่อสามัญ: Orchid

ชื่อวงศ์: ORCHIDACEAE

ชื่อท้องถิ่น:  เอื้อง

ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย เขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก

ลักษณะวิสัย: ไม้อิงอาศัย



ลักษณะ: ส่วนใหญ่เป็นพืชอิงอาศัยพืชอื่น มีลำต้นเทียมออมน้ำหรือที่เรียกว่าลำลูกกล้วย 

ดอกสีสดใส  มีกลิ่นหอม   กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ ซึ่ง 1 กลีบ 

จะมีรูปร่างเปลี่ยนเป็นปากหรือกระเป๋าเกสร  เพศผู้และเกสรเพศเมียรวมกันเป็นหนึ่งเดียว 

ซึ่งเรียกว่าเส้าเกสร  ได้แก่กล้วยไม้ชนิดต่างๆ กล้วยไม้มีระบบรากแบ่งเป็นหลายชนิด  เช่นรากดิน 

รากกึ่งดิน  รากอากาศ   รากกึ่งอากาศ     กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 

คือเส้นใบจะอยู่ในลักษณะขนานกันไปตามความยาวของใบ 

ใบของกล้วยไม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของกล้วยไม้  นับตั้งแต่รูปร่าง  สีสัน 

ขนาดและการทรงตัวตามธรรมชาติ  ลักษณะใบของกล้วยไม้มีหลายชนิด  เช่น ใบแบน ใบกลม

และใบร่องซึ่งเป็นรูปผสมระหว่างพวกใบกลม กับใบแบน ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะแบน 

ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  คือ  เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

อยู่ในดอกเดียวกันมีหน้าที่ในการสืบพันธุ์  ลำต้นหมายถึง ส่วนที่เป็นข้อ   บริเวณส่วนเหนือข้อ 

และติดอยู่กับข้อจะมีตา   ตาอาจจะแตกเป็นหน่ออ่อน  กึ่งอ่อนหรือช่อดอกก็ได้   ส่วนที่ตัดเป็นข้อ 

เป็นส่วนที่มีใบ  กาบใบหรือกาบของลำต้นที่ไม่มีส่วนของใบเจริญออกมาได้ 

ที่อยู่ระหว่างข้อเรียกว่า  ปล้อง  สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้  2

ประเภท คือลำต้นแท้และลำต้นเทียม

การดูแลรักษา: 1. วิธีการปลูก คุณต้องปลูกกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับชนิดพันธุ์ เช่น

รองเท้านารี เครื่องปลูกต้องเป็น อิฐมอญ ถ่าน หรือทรายที่ผสมกัน ไม่ใช่ดินล้วน !

2. บริเวณที่นำกล้วยไม้ไปห้อยแขวนต้องได้รับแสงพอเพียง ไม่ร่มสนิดเกินไป

ไม่ถูกแสงแรงเกินไป

3. น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ถ้าเป็นไปได้ควรจะเป็นน้ำที่ผ่านการพักในบ่อกักอย่างน้อย 1 - 2 คืน

4. ปุ๋ย ควรหมั่นให้ทุก ๆ 1 สัปดาห์ หากเจอแมลงหรือรารบกวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรให้ยาด้วย

5. หมั่นตรวจคอยดูแลว่ามีโรคแทรงแซงหรือไม่ หรือมีอาการป่วยผิดปกติ

หากพบให้รีบแยกออกจากต้นอื่น ๆ โดยด่วน


ประโยชน์:  ไม้ประดับสถานที่ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูลหวาย


โรคและศัตรู: โรคเน่าดำหรือยอดเน่า

               โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ เรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้ โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา

การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกหน่อ

แหล่งข้อมูล: http://www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/14.htm

http://www.orchidtropical.com/articleid06.php

http://student.nu.ac.th/T1-53410837.html/TEST/การดูแลกล้วยไม้.html

จัดทำโดย: ด.ญ.มนสิชา  เจียรจรัสพงศ์ G.6/2 เลขที่8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น