วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ม่านบาหลี (centerra asiatica Urban) 菱叶白粉藤



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica Urban Cissus nodoa Blume

ชื่อพื้นเมือง : ม่านบาหลี,ม่านพระอินทร์,ม่านบังตา

ชื่อวงศ์ : UMBELIFERAE

ชื่อสามัญ : Grape Ivy,Javanese Treebine

การใช้ประโยชน์ : นิยมเลี้ยงเป็นไม้ประดับซุ้มเพื่อให้ความร่มรื่น ใช้ประดับตกแต่งสวน ปลูกบริเวณประตู หน้าต่าง ปลูกเป็นซุ้ม เป็นต้น

ลักษณะวิสัย : ชอบแดดจัด เจริญเติบโตได้เร็ว หากได้รับน้ำดี ขยายพันธุ์โดยการปักชำ เป็นใบเดี่ยว

ลักษณะทั่วไปของต้นไม้ : ม่านบาหลี เป็นไม้เลื้อยทิ้งรากเป็นเส้นสีแดงดูสวยงาม ดอกสีขาวอเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ  ม่านบาหลีเป็นไม้เลื้อยที่มีรากอากาศ  ใบสีเขียวเข้ม รากอากาศเมื่อแตกใหม่จะมีสีชมพู แต่เมื่อแก่แล้วจะเป็นสีน้ำตาล

วิธีปลูก : ม่านบาหลีเป็นพืชที่ชอบน้ำค่อนข้างมากและจะเลี้ยงง่ายมากรดน้ำวันละครั้ง ดินอะไรก็ได้ขึ้นหมด หรือไม่ก็ปลูกลงดินร่วนธรรมดา

วิธีดูแลรักษา : ต้องหมั่นตัดแต่ง หากเถาต้นอยู่สูงจากพื้นเท่าไหร่ รากอากาศก็จะยิ่งยาวมากขึ้น

ขยายเพาะพันธุ์ : ดูด้วยการปักชำ ขึ้นง่ายมาก ม่านบาหลี เป็นไม้เลื้อย เจริญเติบโตเร็ว                                                                                              ชอบแดดจัด 

โรคและศัตรู : พืชที่กินจากต้นไม้อื่น เช่น กล้วยไม้

แหล่งข้อมูล : https://sites.google.com/site/kusawadee18/tn-man-bahli
                        www.oknation.net/blog/arunprapa/2008/09/07/ent
http://www.chaikaclub.com/articles/42009387/ม่านบาหลี--,ม่านบังตา--Cissus-nodoa-Blume.html
จัดทำโดย : ด.ช.ชนะชน ปั้นแตง ป.4/1 และ ด.ญ.รสรัณ ศรีวงศ์พนาเวศ ป.3/1                                                             โรงเรียน ปาณยา พัฒนาการ

อโศกน้ำ (Asoka tree) 醒了 树



                    น้ำ


ชื่อวิทยาศาสตร์                   Saraca indica L.

ชื่อพื้นเมือง                         อโศกน้ำ โสก หรือ โสกน้ำ
ชื่อวงศ์                                Leguminosae-Caesalpinioideae

ชื่อสามัญ                            Asoke tree, Saraca, Asoka

ประโยชน์                           ใบอ่อนและดอกทำแกงส้ม ยำหรือทำผักจิ้มน้ำพริก ดอกบำรุงธาตุแก้ไอและขับเสมหะ

ลักษณะทั่วไป                   ไม้ต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงกลมพุ่มทึบ ปลายกิ่งห้อยย้อยลู่ลง เปลือกเรียบสีน้ำตาลเข้มหรือแตกเป็นร่องตื้นตามยาวและขวางลำต้น

ใบ (Foliage) :                    ใบประกอบแบบขนนก ปลายคู่ เรียงสลับ ยาว 10-15 เซนติเมตร ใบย่อย 1-7 คู่เรียงสลับ ใบรูปรีแกมรูปไข่หรือรูปใบหอก กว้าง 2-10 เซนติเมตร ยาว 5-30เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน รูปลิ่มหรือรูปหัวใจ แผ่นใบหนา ใบอ่อนนิ่ม สีขาว ห้อยย้อยลง

ดอก (Flower) :                 สีส้มหรือแดง ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงหลั่นที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงเป็นหลอด                                                เรียวยาวประมาณ1-2 เซนติเมตร บริเวณปลายเเยกเป็น 4 แฉก รูปไข่กลับแกม                                          รูปขอบขนาน ปลายมน ไม่มีกลีบดอก ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.2-1.5 เซนติเมตร

ผล (Fruit) :                       ผลแห้งแตก เป็นฝัก ทรงแบน กว้าง 2-6 เซนติเมตร ยาว 6-30 เซนติเมตร เมื่อ                                           แก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดรูปไข่ แบน มี 1-3 เมล็ด

การขยายพันธุ์:                  การตอน เป็นวิธีการที่เหมาะสมที่สุด ไม่มีความจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน

ข้อแนะนำ:                         เนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว และใช้พื้นที่ในการปลูกมาก                                             การปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ในพื้นที่จำกัด อาจทำให้เกิดความยุ่งยากในการดูแล                                               รักษาในภายหลังได้

                                          เป็นพันธุ์ไม้ที่ต้องการความชื้นสูง การปลูกในพื้นที่มีความชื้นสูงหรือบริเวณ                                               ชายน้ำจะทำให้ได้ต้นที่มีความสมบูรณ์ สวยงามตรงตามชนิดพันธุ์ได้ง่าย

                                          ผู้ที่สนใจปลูกไม้หอมชนิดนี้แต่มีพื้นที่ปลูกน้อย ก็สามารถปลูกพันธุ์ไม้หอม                                               ชนิดนี้ได้ เนื่องจากสามารถควบคุมให้มีขนาดตามต้องการ โดยการตัดแต่ง                                               ทรงพุ่มให้อยู่ในขนาดที่ต้องการภายหลังการออกดอกทุกครั้ง

                                          จำนวนที่แนะนำให้ปลูกสำหรับผู้ที่มีพื้นที่น้อย 1 ต้นก็พอ (พื้นที่ที่เหลือเก็บ                                               เอาไว้ปลูกพันธุ์ไม้หอมชนิดอื่นบ้าง เมืองไทยมีพันธุ์ไม้หอมมากกว่า 100                                                   ชนิด)การขยายพันธุ์


เอกสารอ้างอิง:                  http://frynn.com/โสก/
                                          http://agkc.lib.ku.ac.th/plantwebsite/webpage/Trees/โสกน้ำ.htm

จัดทำโดย:                         ด.ช.ธนกร เศรษบโชติเดชา ชั้น Grade 6/2 โรงเรียนปาณยา พัฒนาการ

เฟื่องฟ้า (Paper Flower) 三角梅








ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bougainvillea
ชื่อพื้นเมือง  : ดอกโคม(ภาคเหนือ), ดอกต่างใบ(กรุงเทพ), ตรุษจีน (ภาคกลาง)
ชื่อวงศ์ : Nyctaginaceae 
ชื่อสามัญ : Bougainvillea, Paper Flower

ประโยชน์ : เฟื่องฟ้ามีสรรพคุณในการรักษาบำรุงและอาการต่างๆได้แก่ บำรุงหัวใจ บำรุงระบบขับถ่าย บำรุงโลหิต แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ รักษาอาการตกขาวของสตรีแก้พิษต่างๆ เป็นต้น ดอกนิยมนำมาทำเป็นเครื่องหอม และชุบแป้งทอด

ลักษณะทั่วไป : เป็นไม้ยืนต้นประเภทพุ่มกึ่งเลื้อย มีหนามขึ้นตามลำต้นอยู่ ใบเดี่ยว แตกออก สลับ กับ กิ่ง หรือเยื้องกัน มีขนขึ้นปกคลุมเล็กน้อย มีสีเขียวหรือใบด่าง รูปร่างรีแหลมยาว 3-6 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบประดับลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่มี 3-5 ใบ มีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู ส้ม ฟ้า เหลืองและอื่นๆ มีทั้งดอกสมบูรณ์เพศและไม่สมบูรณ์เพศ ออกเป็นช่อแต่ละช่อมี 3 ดอกการปลูก ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ต้องการอุณหภูมิ ปานกลางหรือร้อนชื้น ปลูกในกระถาง

การดูแลรักษา : ต้องการแสงแดดจัดในสภาพกลางแจ้ง ได้รับแสงแดดตลอดวัน ถ้าได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ จะทำ ให้สีของใบไม่เข้มออกดอกน้อย

การขยายพันธ์ : ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง, เสียบยอด
โรคและศัตรู วัชพืช หนอน
ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล  https://th.wikipedia.org/wiki/เฟื่องฟ้าhttp://www.il.mahidol.ac.th/e-media/plants/webcontent3/interactive_key/key/describ/phaengfa.htm

จัดทำโดย ด.ญ.หยูเฉียว โจว (นิโคล) G.4/1 เลขที่ 23



กล้วยไม้ (orchid) 蝴蝶兰





ชื่อวิทยาศาสตร์: Orchid

ชื่อสามัญ: Orchid

ชื่อวงศ์: ORCHIDACEAE

ชื่อท้องถิ่น:  เอื้อง

ชื่อวิทยาศาสตร์: Orchid

ชื่อสามัญ: Orchid

ชื่อวงศ์: ORCHIDACEAE

ชื่อท้องถิ่น:  เอื้อง

ถิ่นกำเนิด:  ประเทศไทย เขตร้อน และเขตอบอุ่นทั่วโลก

ลักษณะวิสัย: ไม้อิงอาศัย



ลักษณะ: ส่วนใหญ่เป็นพืชอิงอาศัยพืชอื่น มีลำต้นเทียมออมน้ำหรือที่เรียกว่าลำลูกกล้วย 

ดอกสีสดใส  มีกลิ่นหอม   กลีบเลี้ยงมี 3 กลีบ ซึ่ง 1 กลีบ 

จะมีรูปร่างเปลี่ยนเป็นปากหรือกระเป๋าเกสร  เพศผู้และเกสรเพศเมียรวมกันเป็นหนึ่งเดียว 

ซึ่งเรียกว่าเส้าเกสร  ได้แก่กล้วยไม้ชนิดต่างๆ กล้วยไม้มีระบบรากแบ่งเป็นหลายชนิด  เช่นรากดิน 

รากกึ่งดิน  รากอากาศ   รากกึ่งอากาศ     กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว 

คือเส้นใบจะอยู่ในลักษณะขนานกันไปตามความยาวของใบ 

ใบของกล้วยไม้มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของกล้วยไม้  นับตั้งแต่รูปร่าง  สีสัน 

ขนาดและการทรงตัวตามธรรมชาติ  ลักษณะใบของกล้วยไม้มีหลายชนิด  เช่น ใบแบน ใบกลม

และใบร่องซึ่งเป็นรูปผสมระหว่างพวกใบกลม กับใบแบน ส่วนมากแล้วจะมีลักษณะแบน 

ดอกกล้วยไม้เป็นดอกสมบูรณ์เพศ  คือ  เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมีย

อยู่ในดอกเดียวกันมีหน้าที่ในการสืบพันธุ์  ลำต้นหมายถึง ส่วนที่เป็นข้อ   บริเวณส่วนเหนือข้อ 

และติดอยู่กับข้อจะมีตา   ตาอาจจะแตกเป็นหน่ออ่อน  กึ่งอ่อนหรือช่อดอกก็ได้   ส่วนที่ตัดเป็นข้อ 

เป็นส่วนที่มีใบ  กาบใบหรือกาบของลำต้นที่ไม่มีส่วนของใบเจริญออกมาได้ 

ที่อยู่ระหว่างข้อเรียกว่า  ปล้อง  สำหรับลำต้นของกล้วยไม้ที่โผล่พ้นจากเครื่องปลูกแบ่งได้  2

ประเภท คือลำต้นแท้และลำต้นเทียม

การดูแลรักษา: 1. วิธีการปลูก คุณต้องปลูกกล้วยไม้ชนิดนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับชนิดพันธุ์ เช่น

รองเท้านารี เครื่องปลูกต้องเป็น อิฐมอญ ถ่าน หรือทรายที่ผสมกัน ไม่ใช่ดินล้วน !

2. บริเวณที่นำกล้วยไม้ไปห้อยแขวนต้องได้รับแสงพอเพียง ไม่ร่มสนิดเกินไป

ไม่ถูกแสงแรงเกินไป

3. น้ำที่ใช้รดกล้วยไม้ ถ้าเป็นไปได้ควรจะเป็นน้ำที่ผ่านการพักในบ่อกักอย่างน้อย 1 - 2 คืน

4. ปุ๋ย ควรหมั่นให้ทุก ๆ 1 สัปดาห์ หากเจอแมลงหรือรารบกวนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรให้ยาด้วย

5. หมั่นตรวจคอยดูแลว่ามีโรคแทรงแซงหรือไม่ หรือมีอาการป่วยผิดปกติ

หากพบให้รีบแยกออกจากต้นอื่น ๆ โดยด่วน


ประโยชน์:  ไม้ประดับสถานที่ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญ โดยเฉพาะกล้วยไม้ตระกูลหวาย


โรคและศัตรู: โรคเน่าดำหรือยอดเน่า

               โรคเน่าดำหรือยอดเน่า หรือ เรียกว่าโรคเน่าเข้าไส้ โรคนี้สาเหตุเกิดจากเชื้อรา

การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แยกหน่อ

แหล่งข้อมูล: http://www.shc.ac.th/learning/botanical-garden/14.htm

http://www.orchidtropical.com/articleid06.php

http://student.nu.ac.th/T1-53410837.html/TEST/การดูแลกล้วยไม้.html

จัดทำโดย: ด.ญ.มนสิชา  เจียรจรัสพงศ์ G.6/2 เลขที่8

ต้นโพธิ์ (Secred tree) 神圣的树


ชื่อทางวิทยาศาสตร์ :  Ficus religiosa   
                                                 
ชื่อสามัญ :  Sacred tree

ชื่อพื้นเมือง : โพ , ศรีมหาโพ , ย่อง , สสี
,
ชื่อวงศ์ :  Moraceae

วิธีการขยายพันธุ์ :  ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  :
ลักษณะดอก

      ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. 

แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นพุ่มตรง ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-3 ม. 

มียางสีขาว 
    
ใบ เรียงเวียนสลับถี่ ใบเดี่ยว รูปหัวใจ กว้าง 8-15 ซม. ยาว 12-

20 ซม. ปลายใบยาวคล้ายหาง โคนใบรูปหัวใจ ใบสีเขียวนวลอมเทา 

ลักษณะใบ

ก้านใบเล็กยาว 8-12 ซม. ส่วนยอดอ่อน เป็นสีครีมหรือสีงาช้างอมชมพู


 ดอก สีเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อที่ซอกใบ ดอกแยกเพศขนาดเล็ก                       
จำนวนมาก อยู่ภายในฐานรองดอก รูปคล้ายผล

     ผล ผลรวมรูปกลม ขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.8 ซม. เมื่อสุกสีม่วงดำ


 แหล่งที่มา :

          https://sites.google.com/site/palakorn278/tnmi-ni-rongreiyn-teriym-xudmsuksa

   https://th.wikipedia.org/wiki

   http://www.thaigoodview.com/node/111994

   http://frynn.com

   http://www.es-vector.org/home_es



          จัดทำโดย...  ด.ช. ภควนนท์  ปิ่นศิริ   ป.5/2   เลขที่ 17

ดอกปีบ (Cork Tree) 栓皮栎

ดอกปีบ
ชื่อสมุนไพร
ปีบ
ชื่ออื่นๆ
กาสะลอง กาดสะลอง (เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Millingtonia hortensis L.f

ชื่อวงศ์
Bignoniaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ผลัดใบ ลำต้นตรง สูงได้ถึง 25 เมตร เปลือกต้นหนาสีน้ำตาลอ่อนปนเทา แตกเป็นร่องลึก มีช่องอากาศ ยอดอ่อนมีขนนุ่ม 

ใบประกอบแบบขน 2-3 ชั้น ออกเรียงตรงข้าม มีใบย่อย 4-6 คู่ ใบรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบหยักเป็นซี่หยาบ กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ก้านใบยาว 3.5-6 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาว 13-19 เซนติเมตร แผ่นใบเรียบทั้งสองด้าน เนื้อใบบางคล้ายกระดาษ มองเห็นเส้นใบชัดที่ด้านท้องใบ 



ดอกออกเป็นช่อกระจุกแยกแขนงที่ปลายกิ่ง ยาว 10-25 เซนติเมตร ดอกย่อยจำนวนมาก กลีบดอกสีขาว มีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดกว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ปลายกลีบแหลมแยกเป็นหลอดปากแตร 5 แฉก สามแฉกบนรูปขอบขนานปลายแยกจากกัน สองแฉกล่างค่อนข้างแหลม แยกจากกันที่ส่วนปลายแฉกเล็กน้อย ขนาดกลีบดอก 6.5-12.5 x 5.6- 6.5 มิลลิเมตร  กลีบเลี้ยงสีเขียว โคนเชื่อมติดกัน วงกลีบเลี้ยงรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 แฉก กว้างประมาณ 0.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 0.5 เซนติเมตร ติดคงทน เกสรเพศผู้อยู่ชิดกับกลีบดอก มีจำนวน 4 อัน แบ่งเป็นสองคู่ ยาวไม่เท่ากัน ก้านชูเกสรเพศผู้คู่ที่ยาวกว่า ยาวประมาณ 10.5 มิลลิเมตร อับเรณูที่ไม่เป็นหมันรูปขอบขนาน ยาว 4 มิลลิเมตร อับเรณูที่ฝ่อรูปแถบโค้ง ยาว 1.2 มิลลิเมตร เกสรเพศผู้ที่เป็นหมันรูปเส้นด้าย เกสรเพศเมียมีจำนวน 1 อัน อยู่เหนือวงกลีบ รังไข่รูปขอบขนานกึ่งรูปแถบ ยาว 4.5 มิลลิเมตร ภายในแบ่งเป็น 2 ห้อง ก้านชูรูปเส้นด้าย ปลายแยกเป็น 2 พู รูปกึ่งรูปไข่ ยาว 1.2 มิลิเมตร


ผลเป็นฝักแบน ยาวแคบ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 เซนติเมตร ปลายฝักแหลม ฝักอ่อนสีเขียว มีเนื้อ พอแห้งแข็ง แตกออกได้เป็น 2 ซีก  
เมล็ดแบน จำนวนมาก รูปหยดน้ำ มีปีกสีขาว ค่อนข้างบางใสอยู่โดยรอบเมล็ด ยกเว้นบริเวณส่วนปลายเมล็ดด้านแหลม ออกดอกราวเดือนกันยายนถึงธันวาคม ติดผลราวเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

สรรพคุณ
ตำรายาไทย ดอก รสหวานขมหอม ขยายหลอดลม มวนเป็นบุหรี่สูบรักษาหืด สูบแก้ริดสีดวงจมูก ไซนัสอักเสบ บำรุงน้ำดี เพิ่มการหลั่งน้ำดี บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ลม ดอกใส่ปนกับยาไทย มวนสูบทำให้ปากหอม ราก รสเฝื่อน บำรุงปอด แก้หอบ แก้วัณโรคและโรคปอด แก้ไอ แก้เหนื่อยหอบ 
เปลือก แก้ไอ ขับเสมหะ
ประเทศแถบเอเชียใต้ (อินเดีย จีน พม่า) 
ใบและราก ใช้แก้หืด ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 
ใบ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้ไข้ แก้ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี เป็นยาบำรุง 
ลำต้น บำรุงปอด และแก้ไอ 
เปลือกต้น ใช้เป็นสีย้อม ให้สีเหลือง 
ดอก ใช้รักษาหืด ไซนัสอักเสบ เพิ่มการหลั่งน้ำดี  เป็นยาบำรุง ใช้ใส่ในยาสูบเพื่อรักษาโรคที่ลำคอ

องค์ประกอบทางเคมี
ดอกมีสารฟลาโวนอยด์ hispidulin ช่วยขยายหลอดลม และพบฟลาโวนอยด์อื่นๆ ได้แก่ scutellarein, scutellarein-5-galactoside, hortensin, cornoside, recimic, rengyolone, rengyoside B, rengyol, rengyoside A,  iso rengyol, millingtonine ใบพบฟลาโวนอยด์ hispidulin, dinatin และสารอื่นๆได้แก่ ß carotene, rutinoside 
เปลือกต้น พบสารที่ให้ความขม และสารแทนนิน รากพบ Lapachol, β-sitosterol, poulownin

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
สารสกัดเมทานอลจากดอกมีฤทธิ์ขยายหลอดลมในหนูทดลอง สารสกัดน้ำจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดในหลอดทดลอง สารสกัดเอทานอลจากดอกมีฤทธิ์ปกป้องตับจากสารพิษในหนูทดลอง สารสกัดเมทานอลจากเปลือกต้นมีฤทธิ์ขับพยาธิ สารสกัดใบด้วยอะซิโทนมีฤทธิ์ฆ่าลูกน้ำยุง สาร hispidulin จากดอก มีฤทธิ์ต้านการชัก ทำให้สงบระงับในหนูที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีอาการลมชักได้

แหล่งข้อมูล 
http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=237

จัดทำโดย
เด็กหญิง พริมา  วงศรีสว่างจิต G.6/2