วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

พุทธรักษา (Indian shot) 美人蕉

ดอกพุทธรักษา



ลักษณะทั่วไปของดอกพุทธรักษา  : 
       พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ่งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์ วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันพ่อแห่งชาติ กำหนดขึ้นครั้งแรก ในปี 2523 และกำหนดให้ ดอกพุทธรักษาสีเหลือง เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันพ่อ 


   

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Canna spp. and hybrid

ชื่อวงศ์ :  Cannaceae

ชื่อสามัญ :  Indian shot, Canna

ชื่อพื้นเมือง :  พุทธศร  ดอกบัวละวง

โรคและศัตรู : ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา  ส่วนแมลงที่รบกวนได้แก่  พวกเพลี้ยแป้ง  และเพลี้ยหอย  ซึ่งจะพบมากในฤดูร้อน

ประโยชน์ของดอกพุทธรักษา : ในประเทศปาปัวนิวกินีกินหัวต้นพุทธรักษาเป็นอาหารหลักเหมือนหัวเผือกหัวมัน ของไทยเราสมัยโบราณนำหัวต้มรับประทานบำรุงปอด แก้อาเจียนหรือไอเป็นเลือด บางครั้งนำดอกมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลที่มีหนอง เมล็ดบดพอกแก้ปวดศรีษะ ส่วนพันธุ์พุทธรักษาปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันในสรรพคุณ จึงขอแนะนำว่าอย่าพึ่งไปลองกิน ควรใช้ทดลองตามสรรพคุณแต่ภายนอกร่างกายจะดีกว่า




การดูแลดอกพุทธรักษา : 
      
 แสง : ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง  
 น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง  
 ดิน : เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย  
 ปุ๋ย : ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธุ์ดอกพุทธรักษา :

     นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ดวิธีที่นิยมและได้ผลดี การแยกหน่อโรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคที่เป็นปัญหา
ส่วนแมลงที่รบกวน ได้แก่ พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากในหน้าร้อนการป้องกันกำจัด 
ถ้าหากกอมีขนาดใหญ่และทึบอาจใช้ยาดูดซึม จำพวกไซกอน ละลายน้ำรด ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากก็ได้

การปลูกดอกพุทธรักษามี 2 ประเภทคือ :             

  1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรใช้แปลงปลูกขนาด 2 x 10 เมตร โดยการยกร่องคล้ายแปลงปลูกผัก การเตรียมดินใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10-20 กิโลกรัม/แปลง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30   แต่ถ้าปลูกเพื่อประดับบ้าน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้านหรือปลูกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่จำกัด                           ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก  
  2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่ใช้เป็นดอกประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูง     ขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา1:1:1ผสมดินปลูกและควร เปลี่ยนกระถาง1-2ครั้งต่อปีเพราะการขยายตัวของหน่อแน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพ


แหล่งที่มา : http://www.dmctv/

                 https://maiploy5.wordpress.com


จัดทำโดย เด็กหญิงมัณตรินีย์  แสงวารี  เลขที่ 10 ชั้น Grade  5/2


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น