วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ดอกอัญชัญ (Butterfly pea) 蝶豆 , 蓝蝴蝶


ชื่อสามัญ : Butterfly pea 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Clitoria ternatea L.
ชื่อพื้นเมือง : แดงชัน (เชียงใหม่) และเอื้องชัน,เองชัญ (เหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ กว้าง2-เซนติเมตร ยาว 3-เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม

ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลีย ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.เซนติเมตร ยาว 5-เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10เมล็ด
การขยายพันธุ์
อัญชันมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน ก่อนจะถูกนำไปแพร่พันธุ์ในแอฟริกา ออสเตรเลีย และอเมริกา ในลาว ไทย เวียดนาม
รากอัญชัน  
                 - นำมาปรุงเป็นเป็นยาขับปัสสาวะและยาระบายได้
                 - แก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง โดยการนำรากมาถูที่ฟัน           
                 - ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น โดยนำรากไปถูกับน้ำฝน แล้วนำมาที่หยอดตาและหู 
 ใบอัญชัน    
                - ช่วยขับปัสสาวะ           
                - ช่วยบำรุงสายตาและอาการตาแฉะได้ดอกอัญชัน                           
                - ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังทำให้ร่างกายมีแรงขึ้น           
                - สารต้านอนุมูลอิสระในดอกอัญชันช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย           
                - ช่วยบำรุงสมอง           
                - ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตัน           
                - ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง           
                - ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวาน                   
                - ช่วยล้างสารพิษและขับของเสียออกจากร่างกาย                                       
                - แก้อาการปัสสาวะพิการ           
                - แก้อาการฟกช้ำ           
                - ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า                          


แหล่งที่มา :
1. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
2. อัญชัน ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม, ศูนย์ความรู้ด้านเกษตร สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
3.บทความสุขภาพ, สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ , กรีนเนอรัลด์
4. รศ. ดร.วีณา เชิดบุญชาติ, อัญชัน, ศาลาสมุนไพร
5. ดอกไม้ให้คุณ,นิตยสารสารคดี ฉบับที่ 38 เมษายน 2531 หน้า 111
6.http://sukkapab.com/ดอกอัญชัน-สรรพคุณและประโยชน์.html/

จัดทำโดย ด.ช.กฤษฏิวัส   ธนกำธร  Grade 6/2 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น